สมัยแห่งอินทรธนู (พ.ศ. 2431 - รัชกาลที่ 6) ของ ยศข้าราชการทหารและพลเรือนของสยาม

วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:

ในสมัยนี้มีการปฏิรูปกองทัพให้มีขนาดเพิ่มมากขึ้น กำเนิดกรมทหารเรือ มีการเปลี่ยนคำทับศัพท์ยศทหารให้เป็นภาษาไทย และมีการกำหนดยศข้าราชพลเรือนและราชสำนักขึ้นในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งข้าราชการในราชสำนักมีเพียงมหาดเล็กเท่านั้น

ลำดับที่ทหารบกทหารเรือพลเรือนมหาดเล็ก
1นายทัพนายทัพเรือ--
2นายพลเอกนายพลเรือเอกข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 1 ระดับเอกจางวางมหาดเล็ก
3นายพลโทนายพลเรือโทข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 1 ระดับโท-
4นายพลตรีนายพลเรือตรีข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 1 ระดับตรี-
5นายพันเอกนายนาวาเอกข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 2 ระดับเอกหัวหมื่นมหาดเล็ก
6นายพันโทนายนาวาโทข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 2 ระดับโทรองหัวหมื่น
7นายพันตรีนายนาวาตรีข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 2 ระดับตรีจ่ามหาดเล็ก
8นายร้อยเอกนายเรือเอกข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 3 ระดับเอกหุ้มแพรมหาดเล็ก
9นายร้อยโทนายเรือโทข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 3 ระดับโท-
10นายร้อยตรีนายเรือตรีข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 3 ระดับตรีมหาดเล็กวิเศษ
11นายดาบ---
12จ่านายสิบพันจ่า-พันจ่าเด็กชา
13สิบเอกจ่าเอก-จ่าเด็กชา
14สิบโทจ่าโท--
15สิบตรีจ่าตรี--
16พลทหารพลทหารเรือ-เด็กชา

1.การแต่งเครื่องแบบทหารให้ติดอินทรธนูโดยให้จักรเรียงตรง ต่อมามีการประกาศใช้พระราชกำหนดเครื่องแต่งตัวทหารราบราว พ.ศ. 2442 จึงมีการเปลี่ยนการเรียงจักรหมายยศให้เรียงตรงปลายบ่าและคอเสื้อแทน

2.ข้าราชการพลเรือนติดอินทรธนูตามบ่า

3.ยศมหาดเล็กจะตามหลังบรรดาศักดิ์

4.ข้าราชการในราชสำนักจะติดอินทรธนูรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

5.ยศนายทัพกับนายทัพเรือ เป็นยศสำหรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังเปลี่ยนเป็นจอมพลและจอมพลเรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

6.เครื่องหมายนายทัพจะเป็นรูปจักรเรียงตรง 3 วง ตามด้วยคทาไขว้ตรงปลายบ่า